Go straight ahead as far as the traffic lights. Then turn right . ( โก สเตร้ท อะเฮด แอส ฟา แอส เธอะ แทรฟฟิก ไล้ส เธน เทิน ไร้ท ) เดินตรงไป จนถึงสัญญาณ ไฟจราจร แล้วเลี้ยวขวา
บอกจุดเริ่มต้น = You are here . ( ยู อาร์ เฮีย ) คุณอยู่ตรงนี้
When you go out of the hotel…….. ( เว็น ยู โก เอ้า อ๊อฟ เธอะ โฮเทล) เมื่อคุณออกจากโรงแรม…. จากนั้นก็ต่อด้วยข้อความต่อไปนี้
- ข้ามถนน = Cross over the road.
- เดินตรงไป = walk along the road / Walk straight on / Go straight on.
- เดินผ่านโรงเรียน = Walk pass the school / Go pass the school.
- เดินไปประมาณ 5 นาที = Walk for about 5 minutes
- สี่แยก = Intersection / crossroads
- สามแยก = Junction
- ไฟจราจร = Traffic lights
- สุดถนน = at the end of the road.
- ข้างขวา / ข้างซ้าย = on your right / left
- ติดกับโรงเรียน = next to school
- ก่อนถึงโรงเรียน = just before school
- มุมถนน = at the corner
**บอกเส้นทางโดยให้ใช้รถแท็กซี่
- You can catch a taxi / take a taxi . It will take you there in 5 minutes. ( ยู แคน แคช อะ แท็คซิ / เทค อะ แท็คซิ อิท วิวล์ เทค ยู แดร์ อิน เทน มินิทส ) คุณสามารถไปรถแท็กซี่ และจะพาคุณไปที่นั่นใน 5 นาที
**บอกเส้นทางโดยใช้รถประจำทาง
Take a number 540 bus. That’ll take you pass…(บอกสถานที่ ) and then you get off at… (เทค อะ นัมเบอร์ 540 บัส แธทอิล เทค ยู พาสท……… แอนด์ เธน ยู เกท ออฟ แอท ไปรถประจำทางเบอร์ 540 ก็จะผ่าน….(สถานที่) จากนั้นลงรถที่….. (บอกสถานที่)
สำนวนที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้รถประจำทาง
- ขึ้นรถ = take / catch / get on ( เทค / แคช / เกท ออน
- ลงรถ = get off. ( เกท ออฟ )
- เบอร์รถ = bus number 540 / a number 540 bus ( บัส นัมเบ่อร์ 540 / อะ นัมเบ่อร์ 540 บัส )
(ข้อสังเกต เมื่อใช้ bus number 21 จะไม่มี article ‘ a ‘ นำหน้า)
- ป้ายรถเมล์ = bus stop ( บัส สตอพ )
- รถแล่นผ่านอะไรบ้าง = It will take you pass……… ( อิท วิว เทค ยู พาส ) บอกสถานที่ว่าผ่านอะไร?
• ในกรณีที่เป็นทางการ ให้ใช้คำขึ้นต้นว่า Dear Mr. / Ms. / Dr. / Professor + นามสกุลผู้รับ + comma (,) หรือ colon (:) อาทิเช่น “Dear Mr. Hogan:” หรือ “Dear Ms. Lane,” เป็นต้น โดยถ้าเป็นผู้หญิง คุณอาจจะใช้คำว่า “Ms.” ซึ่งจะเหมาะกว่าคำว่า “Miss” (นางสาว) หรือ “Mrs.” (นาง) เพราะสามารถใช้ได้ทั้งกับผู้หญิงที่ยังโสดหรือแต่งงานแล้วก็ได้ และต้องตามด้วยนามสกุลนะครับ ไม่ใช้ชื่อต้นอย่างที่คนไทยนิยมเรียกกัน และให้ลงท้ายด้วยเครื่องหมาย comma (,) หรือ colon (:) ซึ่งถ้าใช้ colon จะเป็นทางการกว่า comma • ในการเขียน e-mail จะต่างจากการขึ้นต้นจดหมายทั่วไป เพราะคุณสามารถละคำว่า “Dear” ได้ เช่น “Ms. Lane,” เป็นต้น • คุณอาจจะเรียกชื่อต้นของผู้รับได้ในกรณีที่ผู้รับลงท้าย e-mail ที่ส่งมาให้คุณก่อนหน้านี้ด้วยชื่อต้น หรือในกรณีที่คุณรู้จักผู้รับเป็นอย่างดีและเรียกชื่อต้นเวลาพูดคุยกัน ซึ่งจะเป็นการแสดงความเป็นกันเองและสนิทสนมคุ้นเคยกันมากขึ้น เช่น “Karen,” หรือ “Hi Karen,” • กรณีที่ไม่สามารถระบุชื่อผู้รับได้ คุณอาจจะใช้วลีว่า “To Whom It May Concern:” หรือ “Dear Sir or Madam:” ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “เรียนท่านผู้ที่เกี่ยวข้อง” หรืออาจใช้ “Dear + ตำแหน่ง” ก็ได้ เช่น “Dear Sales Manager:”, “Dear Customer:” หรือจะละคำขึ้นต้นไปเลยก็ได้ แต่ห้ามใช้ “Dear + ชื่อบริษัท” เช่น “Dear X company:” • สำหรับคำลงท้าย การเขียน e-mail มักจะไม่ต้องลงท้ายด้วย “Sincerely,” หรือ “Your truly,” เหมือนจดหมาย แต่เรามักจะนิยมใช้ “Regards,” หรือ “Best regards,” แล้วลงชื่อผู้ส่งในบรรทัดต่อมา ซึ่งถ้าคุณไม่เคยติดต่อผู้รับมาก่อนและอยากให้เป็นทางการ อาจจะลงท้ายด้วยชื่อต้นและนามสกุลแบบเต็มยศ เช่น I am looking forward to hearing from you. Stefan Gill รูปแบบประโยคนี้ควรจำเพื่อนำไปใช้เลยนะครับ “I am looking forward to + กิริยาเติม ing” หรือถ้าไม่เป็นทางการมากนักอาจจะใช้ “Looking forward to + กิริยาเติม ing” แปลเป็นไทยว่า “ฉันตั้งหน้าตั้งตารอที่จะ...” หรือถ้าคุณอยากลงท้ายด้วยการฝากความคิดถึง คุณอาจจะใช้คำว่า “Give my regards to…” หรือ “Best wishes to…” แต่ถ้าเป็นคนสนิทกันอาจลงท้ายแบบเป็นกันเองว่า “Speak to you soon” หรือ “See you soon” หรือ “Bye (for now)” หรือ “All the best” ก็ได้ เมื่อเกริ่นถึงคำขึ้นต้นและคำลงท้ายแล้ว ต่อไปผมจะยกตัวอย่างรูปประโยคที่นิยมใช้ในการเขียน e-mail ซึ่งมีแบบทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการให้คุณลองนำไปใช้ในการเขียน e-mail ในชีวิตประจำวันดูนะครับ การอ้างถึงการติดต่อครั้งก่อน (Previous Contact) แบบเป็นทางการ (Formal) - Thank you for your e-mail of …(ขอบคุณสำหรับ e-mail ของคุณเรื่อง…) - Further to your last e-mail, …(อ้างถึง e-mail ล่าสุดของคุณ, ...) - I apologize for not getting in contact with you before now. (ต้องขอโทษด้วยที่ไม่ได้ติดต่อคุณก่อนหน้านี้) แบบไม่เป็นทางการ (Informal) - Thanks for your e-mail. (ขอบใจสำหรับ e-mail ของคุณ) - Re your e-mail, … (อ้างถึง e-mail ของคุณ, ...) - Sorry I haven’t written for ages, but I’ve been really busy. (ขอโทษที่ไม่ได้เขียนหาคุณมานาน ฉันยุ่งจริงๆ) จุดประสงค์ของการเขียน e-mail (Reason for Writing) แบบเป็นทางการ (Formal) - I am writing in connection with…หรือ I am writing with regard to… (ฉันเขียนมาเกี่ยวกับ...) - In reply to your e-mail, here are… (เพื่อตอบ e-mail ของคุณ, นี่คือ...) - Your name was given to me by… (ฉันได้ชื่อของคุณมาจาก...) - We would like to point out that… (เราอยากจะชี้แจงว่า...) แบบไม่เป็นทางการ (Informal) - Just a short note about…หรือ I’m writing about… (ฉันเขียนมาเกี่ยวกับ...) - Here’s the … you wanted. (นี่คือ ... ที่คุณต้องการ) - I got your name from… (ฉันได้ชื่อของคุณมาจาก...) - Please note that… (ขอให้ทราบว่า...) ให้ข้อมูล (Giving Information) แบบเป็นทางการ (Formal) - I’m writing to let you know that…(ฉันเขียนมาเพื่อให้คุณทราบว่า...) - We are able to confirm that…(เราอยากจะยืนยันว่า...) - I am delighted to tell you that…(ฉันดีใจที่จะบอกคุณว่า...) - We regret to inform you that…(เราเสียใจที่จะแจ้งให้คุณทราบว่า...) แบบไม่เป็นทางการ (Informal) - Just a note to say… (แค่อยากจะบอกว่า...) - We can confirm that… (เรายืนยันว่า...) - Good news! (ข่าวดี!) - Unfortunately, … (โชคไม่ดี,...)
การแนบไฟล์ (Attachment)
แบบเป็นทางการ (Formal)
- Please find attached my report. โปรดดูรายงานของฉันในไฟล์แนบ
- I’m sending you…as a pdf file. ฉันส่ง....มาให้คุณในไฟล์รูปแบบ pdf
แบบไม่เป็นทางการ (Informal)
- I’ve attached…. ฉันแนบ...
- Here is the…. you wanted. นี่คือ....ที่คุณต้องการ
สอบถามข้อมูล (Asking for Information)
แบบเป็นทางการ (Formal)
- Could you give me some information about…? กรุณาส่งข้อมูลเกี่ยวกับ…ให้ฉันได้ไหม?
- I would like to know… ฉันอยากทราบ...
- I’m interested in receiving/finding out… ฉันสนใจที่จะได้รับ...
แบบไม่เป็นทางการ (Informal)
- Can you tell me a little more about…? คุณช่วยบอกฉันเพิ่มเติมเกี่ยวกับ....ได้ไหม?
- I’d like to know… ฉันอยากรู้...
- Please send me… ช่วยส่ง….มาให้ฉัน
ขอร้อง (Requests)
แบบเป็นทางการ (Formal)
- I’d be grateful if you could… ฉันขอบคุณถ้าคุณช่วย...
- I wonder if you could… คุณกรุณาช่วย....ได้ไหม?
- Do you think I could have…? คุณพอจะช่วยฉันให้มี....ได้ไหม?
- Thank you in advance for your help in this matter. ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับความช่วยเหลือ
แบบไม่เป็นทางการ (Informal)
- Please could you… คุณช่วย...ได้ไหม?
- Could you…? คุณช่วย...ได้ไหม?
- Can I have…? ฉันอยากได้....ได้ไหม?
- I’d appreciate your help on this. ฉันซาบซึ้งในความช่วยเหลือของคุณ
เสนอความช่วยเหลือ (Offering Help)
แบบเป็นทางการ (Formal)
- Would you like me to…? คุณอยากจะให้ฉัน....หรือไม่?
- If you wish, I would be happy to… ถ้าคุณต้องการ ฉันเต็มใจที่จะทำ...
- Let me know whether you would like me to… บอกให้ฉันรู้ว่าคุณอยากจะให้ฉัน...หรือไม่
แบบไม่เป็นทางการ (Informal)
- Do you want me to…? คุณต้องการให้ฉัน...ไหม?
- Shall I…? ฉันจะ...ได้ไหม?
- Let me know if you’d like me to…? บอกให้ฉันรู้ว่าคุณอยากจะให้ฉัน...หรือไม่
ประโยคส่งท้าย (Final Comments)
แบบเป็นทางการ (Formal)
- Thank you for your help. ขอบคุณสำหรับความช่วยเหลือของคุณ
- Do not hesitate to contact us again if you require any further information. อย่าลังเลที่จะติดต่อเราอีกครั้งถ้าคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
- Please feel free to contact me if you have any questions. My direct line is… ตามสบายถ้าจะติดต่อฉันในกรณีที่มีคำถามอื่นๆ สายตรงถึงฉันคือ...
แบบไม่เป็นทางการ (Informal)
- Thanks again for… ขอบคุณอีกครั้งสำหรับ…
- Let me know if you need anything else. บอกให้ฉันรู้ถ้าคุณต้องการอะไรเพิ่มเติม
- Just give me a call if you have any questions. My number is… เพียงโทรหาฉันถ้าคุณมีคำถามอื่นๆ เบอร์ของฉันคือ...
คลิปที่น่าสนใจ:
Learn English - How to write a Formal Letter? Writing a Personal Letter
- ถ้าเป็นกรรมต้องมีกริยาช่วยตัวอื่นมาร่วมด้วย และวางไว้หลัง What เช่น
What do you want ?
Which (สิ่งไหน อันไหน) ใช้ถามถึงสัตว์, สิ่งของ, เป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่นถ้าเป็นประธานไม่ต้องใช้กริยาอื่นมาช่วยWhich is the best? อันไหนดีที่สุด ?.(อนึ่งปฤจฉาสรรพนาม Whose ,which, what นี้ถ้าใช้โดยมีนามอื่นตามหลังก็เป็นคุณศัพท์ไปถ้าไม่มีนามอื่นตามหลังจึงจะเป็นปฤจฉาสรรพนาม)
Who (ผู้ซึ่ง) ใช้แทนนามที่เป็นบุคคลและบุคคลนั้นจะต้องเป็นผู้กระทำด้วย เช่น The man who came here last week is my cousin. ชายผู้ซึ่งมาที่นี่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเป็นลูกพี่ลูกน้องของฉัน.
Whom (ผู้ซึ่ง) ใช้แทนนามที่เป็นบุคคลและบุคคลนั้นต้องเป็นผู้ถูกกระทำด้วย เช่น The boy whom you saw yesterday is my brother. เด็กชายผู้ซึ่งคุณพบเมื่อวานนี้เป็นน้องชายของผม.
Whose (ผู้ซึ่ง…..ของเขา) ใช้แทนนามที่เป็นบุคคลเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของนามที่ตามหลัง ดังนั้นเมื่อมี Whose ก็ต้องมีนามตามหลัง Whose เสมอเช่น The girl whose father is a teacher goes to school every day. เด็กหญิงผู้ซึ่งพ่อของเขาเป็นครูนั้นไปโรงเรียนทุกวัน.(เป็นคำแสดง ความ เป็นเจ้าของ Father).
Which (ที่,ซึ่ง) ใช้แทนนามที่เป็นสัตว์ สิ่งของ เป็นได้ทั้งประธานและกรรม The animal which has wing is a bird. สัตว์ที่มีปีกนั้นคือนก(เป็นประธานของอนุประโยค has wings) The kitten which I gave to my aunt is very naughty. ลูกแมวซึ่งฉันให้แก่คุณป้าของฉันไปนั้นซุกซนมาก.(เป็นกรรมของกริยา gave ในอนุประโยค I gave to my aunt).
Where (อันเป็นที่) ใช้แทนนามที่เป็นสถานที่ เป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่น The night club is the place where is not suitable for children. ไนท์คลับเป็นสถานที่ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กๆ(เป็นประธานของอนุประโยค is not suitable for children ) The hotel is the place where I like best . โรงแรมเป็นสถานที่ที่ผมชอบมากที่สุด.(เป็นกรรมของ like).
What (อะไร,สิ่งที่) ใช้แทนนามที่เป็นสิ่งของ นามที่ What ไปแทนทำหน้าที่เป็นประพันธ์สรรพนามนั้นไม่ต้องปรากฏให้เห็นอยู่ข่างหน้าเหมือนประพันธ์สรรพนามตัวอื่น ทั้งนี้เพราะถูกละไว้ในฐานะที่เข้าใจแล้ว เช่น I know what is in the box. ฉันรู้ว่าอะไรอยู่ในกล่องใบนี้.
When (เมื่อ,ที่) ใช้แทนนามที่เกี่ยวกับเวลา ,วัน, เดือน,ปีเช่น Sunday is the day when we don’t work. วันอาทิตย์คือวันที่เราไม่ทำงาน
Why (ทำไม) ใช้แทนนามที่เป็นเหตุผล (ส่วนมากใช้แทน reason ) เช่น This is the reason why I go to Hong Kong. นี้คือเหตุผลที่ว่า ทำไมผมจึงไปฮ่องกง
That (ที่,ซึ่ง) ใช้แทนคน, สัตว์, สิ่งของ, และสถานที่ได้ แต่ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ 4 ประการอย่างใดอย่างหนึ่งอันได้แก่ :
1. เป็นนามที่มีคุณสมบัติสูงสุดมาขยายอยู่ข้างหลัง เช่น He is the tallest man that I have ever seen. เขาเป็นคนสูงที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นมา.
2. เป็นนามที่มีเลขจำนวนนับที่มาขยายอยู่ข้างหน้า เช่น China is the first country that I am going to visit. จีนเป็นประเทศแรกที่ข้าพเจ้าจะไปเที่ยว.
3. เป็นนามที่มีคุณศัพท์บอกปริมาณมาขยายอยู่ข้างหน้า เช่น She has much money that she give me. หล่อนมีเงินอยู่มากที่หล่อนจะให้ผม.
4. เป็นสรรพนามผสมต่อไปนี้ตัวใดตัวหนึ่งปรากฏอยู่แล้ว คือ someone, somebody, something, anyone, anything, anybody, anyone, everything, no one, nothing, etc. เช่น There is nothing that I can do for you. ไม่มีอะไรที่ผมจะช่วยคุณได้.